วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สมาชิก


รายชื่อสมาชิก ม.3/5

1. เด็กชาย   พ.พล    หนูเหมือน  เลขที่8

  2. เด็กหญิง  จันทรรัตน์   แซ่ภู่     เลขที่23

 3. เด็กหญิง   ธนพร   หนูขาว       เลขที่26

       4. เด็กหญิง   ปภาวี    ชัยวัฒนพงษ์   เลขที่34

  5. เด็กหญิง    รุจาพร  มีวงศ์         เลขที่40

การพัฒนาสุขภาพ

 การพัฒนาสุขภาพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ การพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
ตัวชี้วัด วางแผนและปฏิบัติตามแผนการพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว (พ 4.1 ม.6/5)
ผังสาระการเรียนรู้
การพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
1. แนวคิดในการวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
2. วิธีการวางแผนสุขภาพของตนเองและครอบครัว
3. กระบวนการสุขภาพของตนเองและครอบครัว
การพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
จุดประกายความคิด
สุขภาพดีเริ่มต้นที่ครอบครัว
นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับข้อความนี้?
                ปัญหาโรคต่างๆ ในสังคม แม้จะมีวิธีรักษาและวัคซีนป้องกันโรคบ้างชนิด แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนคือ การพัฒนาสุขภาพของตนเอง สุขภาพของคนในครอบครัว และสุขภาพในสังคม ชุมชน โดยมีการวางแผนและวางแนวคิดที่ถูกต้อง
ตารางปริมาณแคลอรี่ในอาหาร http://kcal.memo8.com/food-calorie-table/
แนวทางในการวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว
การพัฒนาสุขภาพของประชาชน มีแนวคิด 3 ประการ คือ1. การพัฒนาสุขภาพตนเอง2. การพัฒนาสุขภาพขอคนในครอบคัว3. การพัฒนาสุขภาพในชุมชน
                การวางแผนพัฒนาสุขภาพในภาพรวมทั้ง 3 แนวคิดจะเป็นไปในลักษณะที่ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เพราะถ้าสุขภาพส่วนบุคคลไม่ดีแล้วจะส่งผมกระทบต่อสุขภาพของบุคคลในครอบครัว และเนื่องจากครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ถ้าในครอบครัวหลายๆครอบครัวไม่เข้มแข็ง อ่อนแอด้านสุขภาพ ก็จะทำให้ภาพรวมของสังคมอ่อนแอไปด้วย ดังนั้นการพัฒนาด้านสุขภาพจึงรวมกันเป็นห่วงโซ่ที่ต้องพัฒนาเป็นองค์รวมเชื่อมโยงกันไป
                การพัฒนาสุขภาพส่วนบุคคลหรือของตนเองจะเป็นการพัฒนาเฉพาะด้าน เฉพาะบุคคล ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามวัย โดยเฉพาะการพัฒนาและดูแลอาใจใส่เลี้ยงดูจากพ่อแม่ จะเป็นรากฐานที่ดีต่อชีวิตต่อไป เช่น การได้รับภูมิคุ้มกันโรคอย่างครบถ้วนเป็นระยะ การสร้างเสริมความแข็งแรงของร่างกายโดยได้รับการกระตุ้น การรับวัคซีนป้องกันโรคหรือวัคซีนที่จำเป็นเฉพาะโรค เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน เมื่อได้รับการพัฒนาสุขภาพด้านร่างายมาอย่างดี พร้อมกับได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ ได้รับความรักความอบอุ่นทางจิตใจอย่างเพียงพอ จะทำให้บุคคลนั้นสุขภาพจิตดีไปด้วย
                การพัฒนาสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ ส่วนมากจะเป็นไปในลักษณะการดูแลตนเอง เพราะผู้ใหญ่จะรู้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง บอกอาการที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ สุขภาพที่ไม่ดีในวัยผู้ใหญ่นั้น มักเกิดจากพฤติกรรมของตนเองเป็นส่วนมาก เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่รับประทานอาหารบางมื้อ เลือกรับประทานอาหารเฉพาะสิ่งที่ชอบ หรือไม่รับประทานอาหารแต่รับประทานอาหารเสริม หรืออาหารสำเร็จรูปที่เป็นแคปซูลแทนเพื่อนรักษารูปร่าง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง
                การดูแลสุขภาพในวัยชราหรือผู้สูงอายุ ในวัยนี้การทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อมโทรมลงแต่ถ้าการดูแลสุขภาพดีในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ การเสื่อมโทรมของอวัยวะในร่างกายก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆและไม่ค่อยเจ็บป่วย อย่างไรก็ตามการเสื่อมโทรมของร่างกายและสมองย่อมเป็นไปตามวัย การดูแลสุขภาพขอองบุคคลในช่วงนี้จึงต้องได้รับความช่วยเหลือดูแลจากคนในครอบครัว
                การพัฒนาสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ต้องมาจากพื้นฐานการดูแลสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยชราต่อเนื่องกัน
2. วิธีการวางแผนพัฒนาสุขภาพของคนเองและครอบครัวการวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัวนั้น ควรปฏิบัติ ดังนี้2.1 การวางแผนพัฒนาสุขภาพกาย1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ปฏิบัติอย่างน้อย 2-3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ แต่ละครั้งใช้เวลาในการออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 30 นาที ให้ปฏิบัติตามหลักของการออกกำลังกาย โดยยืดหลัก หนัก นาน บ่อย จะเป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก การแกกำลังกายต้องปฏิบัติตามความสามารถของบุคคล ตามวัย ตามความเหมาะสม ทั้งเวลา สถานที่ เพศ วัย การออกกำลังกายจะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานของระบบต่างในร่างกาย ส่งผมให้สุขภาพแข็งแรง
2. รับประทานอาหารต้องให้ครบ 5 หมู่และเหมาะสมกับวัย โดยเฉพาะวัยที่กำลังเติบโต มีการพัฒนาทางร่างกาย ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอ เช่น วัยรุ่นยังอยู่ในวัยขอการเจริญเติบโตและต้องออกกำลังกาย เสียพลังงาน จึงต้องชดเชยด้วยคาร์โบไฮเดรต สร้างเริมการเจริญเติบโตด้วยอาหารประเภทโปรตีน
3. พักผ่อนให้เพียงพอ ระยะเวลาในการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละวัย มีความแตกต่าง เช่น วันเด็ก ต้องพักผ่อนนอนหลับให้มากๆ ในวัยผู้ใหญ่ การนอนอาจน้อยลงแต่ต้องไม่น้อยเกินกว่า 6-8 ชั่วโมง และช่วงของการนอนหลับให้หลับสนิทเพื่อให้การหลั่งของสารแห่งความสุขไปอย่างเต็มที่ ใช้เวลาว่างในวันหยุดทำกิจกรรมหรือไปเที่ยวพักผ่อนยังสถานที่ท่องเที่ยวร่วมกับครอบครัว เพื่อผ่อนคลายและสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
4. การเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพร่างกายและได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายอย่างน้อยปีละ ครั้ง และในการตรวจสุขภาพร่างกาย ต้องตรวจทุกระบบอย่างละเอียด เช่น การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาความผิดปกติในเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจมวลกระดูกในวัยผู้ใหญ่ ตรวจการทำงานของระบบสำคัญๆ ในร่างกาย
5. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อร่างกาย โดยเฉพาะพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองในช่วงการเป็นวัยรุ่น เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสำส่อนทางเพศ ตลอดจนการทดลองหรือใกล้ชิดกับผู้ที่ติดสารเสพติด
6. อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยง หรือเลือกที่จะอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ เพราะสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อสุขภาพ การมีที่อยู่อาศัยที่ปราศจากพาหะนำโรค เช่น ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง การที่เราอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมดี สะอาด ทำให้เรามีอากาศหรือสถานที่ผักผ่อนหย่อนใจที่ดี มีน้ำสะอาดบริโภค มีห้องน้ำห้องส้วมที่ดี ปราศจากขยะมูลฝอย จะทำให้สุขภาพของเราดีไปด้วย

การวางแผนการตรวจสุขภาพและเสริมสร้างความต้านทานโรค

  การวางแผนการตรวจสุขภาพและเสริมสร้างความต้านทานโรค
               โรคภัยไข้เจ็บ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย หากปล่อยปละละเลย ไม่สนใจ
ดูแลสุขภาพของตนเองก็อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย เป็นเหตุให้บุคคลอื่นในครอบครัวต้องเสียเงินและเวลามาดูแลรักษา นอกจากนี้ ภาวะของความเจ็บป่วยยังก่อให้เกิดความเครียดส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตอีกด้วย และหากเกิดภาวะของการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อก็อาจส่งผลให้สมาชิกคนอื่นในครอบครัวติดเชื้อและเจ็บป่วยไปด้วยก็ได้ ดังนั้น ทุกคนในครอบครัวจึงควรที่จะรู้จักป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรค โดยการสร้างสุขนิสัยที่ดีในการดำเนินชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรค และหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติที่อาจเกิดกับตนเองและบุคคลในครอบครัว หากมีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็ควรที่จะป้องหันไว้ก่อน ด้วยวิธีการขอรับการตรวจสุขภาพว่ายังปกติอยู่หรือไม่


               การวางแผนการตรวจสุขภาพมีแนวทางปฏิบัติโดยทั่วไป ดังนี้
           1. การตรวจสุขภาพทั่วไป หลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพทั่วไปจะแตกต่างกันไปตามกลุ่มอายุ เช่น เด็กทารก ควรได้รับการตรวจสุขภาพตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อตรวจการเจริญเติบโตและพัฒนาการและการให้ภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ เด็กวัยเรียน ควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และตรวจสุขภาพฟันอย่างน้อย 4 เดือนต่อครั้ง รวมไปถึงการได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ ใน วัยผู้ใหญ่ ควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินสมรรถภาพการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ส่วนใน วัยผู้สูงอายุ ควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดและสม่ำเสมออย่างน้อย 6 เดือนต่อครั้ง เพื่อที่จะได้ค้นหาข้อบกพร่องทางด้านร่างกายต่าง ๆ นอกจากนี้ บุคคลโดยทั่วไปควรได้รับการตรวจสุขภาพในสถานการณ์อื่น ๆ เช่น ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน หรือตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน เป็นต้น
           2. การตรวจสุขภาพเมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น นอกจากการตรวจสุขภาพทั่วไปที่กล่าวมาแล้วในครอบครัวทุกคนควรหมั่นดูแลและสังเกตสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติหรือมีอาการของการเจ็บป่วยเกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที และยังเป็นการป้องกันการลุกลามของโรค เพราะการค้นพบความผิดปกติและอาการเกิดของโรคในระยะแรกแพทย์จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ง่ายกว่าการค้นพบโรคเมื่อมีอาการมากแล้ว ตัวอย่างอาการผิดปกติที่แสดงออกมาและควรไปพบแพทย์ เช่น น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ปวดเสียดหน้าอกเป็นครั้งคราว เป็นต้น
 

การพักผ่อน

 การพักผ่อน
                การพักผ่อน นับเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์และมีความสำคัญต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและ ทางจิตใจ การพักผ่อนเป็นการช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า และช่วยเสริมเสร้างให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น และช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้รู้สึกสดชื่นอีกด้วย ลักษณะที่จัดว่าเป็นการพักผ่อน ได้แก่ 
           1. การนอนหลับ การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เนื่องจากในขณะที่คนเรานอนหลับอวัยวะทุกระบบในร่างกายได้พักผ่อน ขณะเดียวกันร่างกายของคนเราก็จะทำการซ่อมแซมปรับปรุงเซลล์ต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะปฏิบัติงานต่อไป หากนอนหลับอย่างเพียงพอเมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า พร้อมที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ คนในแต่ละวัยมีความต้องการใช้เวลาในการนอนหลับแตกต่างกัน เช่น ทารกแรกเกิดต้องการเวลานอนวันละประมาณ 18-20 ชั่วโมง เด็กอายุ 1-4 ปี วันละประมาณ 11-12 ชั่วโมง เด็กอายุ 5-12 ปี วันละประมาณ 8-9 ชั่วโมง และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป วันละประมาณ 9-10 ชั่วโมง นอกจากนี้ในช่วงวัยเด็กเริ่มเรียน 3-5 ปี ควรนอนหลับในเวลากลางวันเพิ่ม 2-3 ชั่วโมงด้วย
           2. กิจกรรมนันทนาการ เป็นกิจกรรมที่ทำในยามว่างนอกเหนือจากงานประจำ และเป็นกิจกรรมที่ทำด้วยความสมัครใจ เพื่อผ่อนคลายความตึงงเครียด สร้างความสนุกสนาน กิจกรรมนันทนาการมีมากมายหลายลักษณะ ซึ่งในการวางแผนเลือกกิจกรรมนันทนาการ ควรยึดหลักที่ว่า กิจกรรมเหล่านั้นต้องมีความเหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย เพศ วัย ความสนใจ ความถนัด และความสามารถของตนเอง ไม่ขัดต่อศีลธรรมประเพณี วัฒนธรรมของสังคม และกฎหมาย นอกจากนี้ ควรเป็นกิจกรรมที่ไม่สร้างความรบกวนหรือก่อความรำคาญให้แก่บุคคลอื่น กิจกรรมที่จัดเป็นกิจกรรมนันทนาการ ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับงานฝีมือ งานประดิษฐ์ งานศิลปะต่างๆ การเล่นดนตรี ร้องเพลง หรือการเต้นรำ ในสถานที่มีความเหมาะสม เป็นต้น

การออกกำลังกาย


การออกกำลังกาย
               การออกกำลังกาย หากปฏิบัติอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะส่งผลให้อวัยวะทุกส่วนของ
ร่างกายแข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งถือว่าส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้มีสุขภาพจิตดีขึ้น ดังนั้น บุคลทุกกลุ่มอายุที่อยู่ในครอบครัวจึงควรออกกำลังกาย โดยอาจปฏิบัติร่วมกันหรือตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลก็ได้

                หลักการวางแผนการออกกำลังกายโดยทั่วไปที่ผู้วางแผน ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ มีดังนี้
           1. ศึกษารูปแบบของกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย และเพศ รวมทั้งสภาพร่างกายของแต่ละคน เช่น การออกกำลังกายในวัยเด็กส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของการเล่น ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการฝึกทักษะทางกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้แก่เด็ก ส่วนผู้ใหญ่เป็นวัยที่ร่างกายมีการพัฒนาเต็มที่แล้ว การออกกำลังกายมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกาย และประสิทธิภาพในการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย กิจกรรมในออกกำลังกายอาจเลือกได้ตามความสนใจ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องเพศ วัย และสภาพร่างกายของตนเองด้วย ส่วนผู้ใหญ่สูงอายุควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป ไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่รวดเร็วมากนัก ซึ่งกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ การรำมวยจีน การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ การทำท่ากายบริหารง่าย ๆ เป็นต้น
           2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับชนิดของการออกกำลังกาย
           3. กำหนดโปรแกรมในการออกกำลังกายให้เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดควรออกกำลังกายครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที และสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 3 วัน
           4. ในกรณีที่มีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย

แนวทางในการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว

แนวทางในการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว
                บุคคลในครอบครัวประกอบด้วยบุคคลที่มีความแตกต่างทั้งบทบาท หน้าที่ และช่วงวัย ดังนั้น การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวจึงต้องมีความแตกต่างกันออกไป เช่น ใน วัยเด็กเป็นวัยที่ยังไม่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ พ่อแม่จึงมีส่วนสำคัญในการวางแผนดูแลสุขภาพให้กับเด็ก ในขณะที่ วัยผู้ใหญ่ สามารถที่จะวางแผนดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ อย่างไรก็ตามหากการวางแผนดังกล่าวขาดความสมบูรณ์และถูกต้องเหมาะสม อาจจะส่งผลให้ภาวะทางสุขภาพไม่บรรลุประสิทธิผลที่ตั้งไว้ ดังนั้น ผู้ที่จะวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวควรให้ความสำคัญต่อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนปฏิบัติดังกล่าว

                การวางแผนดูแลสุขภาพโดยทั่วไป ควรให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้
 2.2.1 โภชนาการ
               ตามหลักโภชนาการ อาหารถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต หากเรารับประทานอาหารที่มีคุณค่าและมีปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตแต่หากเรารับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายไม่ว่าจะมากหรือน้อยเกินไป อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น การเกิดโรคขาดสารอาหารเนื่องจากร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือการเกิดโรคอ้วนจากการรับประทานอาหารมากเกิดความต้องการของร่างกาย ดังนั้น การรู้จักที่จะวางแผนดูแลในเรื่องของการรับประทานเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมบูรณ์แข็งแรง จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ควรนำมาปฏิบัติในการเสริมสร้างดูแลสุขภาพของบุคคลให้มีภาวะที่เป็นปกติและมีสุขภาพดี
               การวางแผนการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการมีหลักการและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้
           1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมกับบุคคลวัยต่าง ๆ ในครอบครัว เช่น อาหารที่เหมาะกับวัยเด็ก ควรจะเป็นอาหารในกลุ่มที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและครบทั้ง 5 หมู่ เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต ส่วนในวัยผู้ใหญ่จะเน้นการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานและครบทั้ง 5 หมู่ และในวัยนี้แต่ละคนจะมีความต้องการอาหารแตกต่างกัน แล้วแต่ลักษณะการทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวัน ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวันด้วย สำหรับในวัยผู้สูงอายุนอกจากการคำนึงในเรื่องการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว ควรตะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารให้เหมาะสมต่อการรับประทานอาหาร เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ควรเป็นเนื้อสัตว์แบบย่อยง่าย โดยเฉพาะเนื้อปลา นอกจากนี้ ควรลดอาหารประเภทแป้งและไขมันลง เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนในผู้สูงอายุได้
           2. ควรส่งเสริมสุขนิสัยในการรับประทานอาหารให้เกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัว เช่น รับประทานอาหารให้เป็นเวลา เลือกรับประทานอาหารที่ใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ รับประทานแต่พออิ่ม ไม่ควรรับประทานมากเกิดไปเพราะอาจก่อให้เกิดโรคอ้วน เป็นต้น
           3. หากบุคคลในครอบครัวมีโรคประจำตัว ผู้ที่มีหน้าที่ในการจักเตรียมอาหารควรต้องมีความระมัดระวังในการจัดเตรียม และตัวผู้ที่เป็นโรคเองก็ควรจะต้องระมัดระวังในการบริโภคอาหารที่มีผลกระทบต่อโรคด้วย เช่น ผู้ที่เป็นโรคไต ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หรือผู้ที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง ควรลดอาหารหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง เป็นต้น

อาหารเพื่อ สุขภาพ

อาหารเพื่อ สุขภาพ หมายถึงอาหารที่เมื่อรับเข้าไปแล้วน้า หนกัจะต้องอยู่ในเกฑปรกติไม่เป็นโรคเรื้อรังโดยการเพิ่มอาหารผักและผลไม้ลดเกลือ ลดน้า ตาลลดไขมัน อาหารสุขภาพ องค์กรอนามัยโรคได้น ิยามเรื่องอาหารสุขภาพว่า “การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ร่วมกับการไม่ออกกำลังกายจะเป็นบ่อเกิดโรคเรื้อรัง” องค์การอนามัยโลกได้แนะนำอาหารสุขภาพ ดังนี้
1รับประทานอาหารที่สมดุลและมีน้าหนักที่ปรกติ
2 ใหล้ดอาหารไขมัน และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว Saturated fat,Transfatty acid
3ให้รับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้ ธญัพืขเพิ่มมากขึ้น
4 ลดอาหารที่มีน้า ตาล
5 ลดอาหารเค็มสาหรับ National Health Service (NHS)ของประเทศอังกฤษ ได้นิยามอาหารสุขภาพไวว้า่ มีสองปัจจยัที่ตอ้งคา นึงถึงได้แก่
    1 รับประทานอาหารที่ใหพ้ ลงังานสมดุลกับ พลังงานที่ใช้
     2 รับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย NHS จึงได้กาหนดแนวทางอาหารสุขภาพไว ้ดังนี้
                           1 ทุกท่านตอ้งรู้จกัจานอาหารสุขภาพซ่ึงมีอาหารท้งัหมด 5 หมู่
                           2 ในจานอาหารสุขภาพจะบอกเราวา่ ควรจะรับประทานอาหารใหม้ีสัดส่วนอยา่ งไร สา หรับสมาคมโรคหวัใจประเทศอเมริกาไดก้า หนดอาหารสุขภาพไว้ดงัน้ี
                                                   1. รับประทานผักและผลไม้เพิ่มโดยตั้งเป้ าให้รับผักและผลไม้วันละ 4-5 ส่วนทุกวัน
                                                   2. ให้รับประทานธัญพืชเพิ่มEat more whole-grain foods.เนื่องจากผักและผลไม้มีไขมันต ่า ใยอาหารสูงได้แก่ Whole-grain foods include whole-wheat bread, rye bread, brown rice and whole-grain cereal.
                                                  3. ให้ใช้น ้ามัน olive, canola, corn or safflower oil ส าหรับปรุงอาหารและจ ากัดจ านวนที่ใช้
                                                 4. รับประทานไก่ ปลา ถั่วมากกว่าเนื้อแดง เนื่องจากไก่ที่ไม่มีหนัง ปลา ถั่วจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าเนื้อแดง.
                                                 5. อ่านฉลากก่อนซื้อหรือรับประทานทุกครั้งเพื่อเลือกอาหารที่มีคุณภาพ